เทคนิคสร้าง 3D Model ด้วยภาพจากโดรนง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ ตอนที่ 1

TIPS & TECH

JAN 04,2018

Tags:

featured image

นอกจากเก็บภาพและวิดีโอสวยๆ แล้ว รู้ไหมว่าอีกประโยชน์สำคัญของโดรน DJI คือใช้เป็น 3D Scanner ได้ด้วยนะครับ แถมตอนนี้ยังเอาภาพที่สแกนมาสร้างเป็น 3D Model ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์อีกต่างหาก ซึ่งทำได้อย่างไรนั้น? วันนี้ DJI Phantom Thailand พร้อมพาคุณไปลองทำด้วยกันแล้วครับ!

 

Guidelines & Tips

อันดับแรกขอแนะนำกันก่อนว่าหากต้องการทำ 3D Model ด้วยภาพจากโดรนจะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง หลักๆ เลยนั้นคุณจะต้องบินโดรนเก็บภาพสิ่งที่ต้องการทำเป็น 3D Model ให้ได้จากหลายๆ มุมหลายๆ ระดับความสูงก่อน โดยต้องถ่ายให้ครอบคลุมมากที่สุด เพราะยิ่งคุณถ่ายได้ดี ผลลัพธ์ตอนให้โปรแกรมประมวลผลออกมาเป็น 3D Model ก็จะดี แต่ตรงนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะครับ เพราะประเด็นคือแค่ถ่ายให้ครบ ไม่ได้ต้องการเทคนิคในการถ่ายภาพขั้นสูงมาก เพียงแค่ควรเป็นไปตามคำแนะนำเหล่านี้ครับ

+ ถ่ายสิ่งที่ต้องการทำเป็น 3D Model ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้มีความคมชัดของภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ถ้าต้องการรายละเอียดแบบชัดมากๆ ก็สามารถถือโดรนเข้าไปเดินถ่ายใกล้ๆ ด้วยเลยได้ครับ

+ แต่ละภาพไม่จำเป็นต้องเห็นสิ่งที่ต้องการทำเป็น 3D Model ทั้งหมด แต่จะต้องครอบคลุมให้มากกว่า 80% เพื่อที่ตอนประมวลผลให้ภาพซ้อนทับกัน จะได้เกิดการ overlapping อย่างเหมาะสม 3D Model ออกมาไม่เบลอ

3D Model

 

+ ภาพทุกภาพต้องมีความคมชัด มีความสว่างเหมาะสม จึงควรปรับโฟกัสและรูรับแสงให้ดีเสมอ ไม่เช่นนั้นถ้าภาพเบลอ, มืดหรือสว่างเกินไป เวลาเอาไปประมวลผลจะทำให้ 3D Model ออกมาไม่ดีได้ครับ

+ อย่าถ่ายภาพเข้าหาดวงอาทิตย์ในตอนเช้าหรือตอนบ่ายแก่ๆ แนะนำให้ถ่ายในช่วงบ่ายในวันที่มีเมฆพอสมควร เพื่อที่เมฆจะช่วยกรองแสงอาทิตย์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนเราสามารถถ่ายภาพที่ดีออกมาได้

3D Model

 

+ ระวังการถ่ายภาพแล้วเห็นพวกแสงสะท้อน แสงจ้า กระจกใส วัตถุที่เล็กและบางมากๆ หรือวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวเร็วๆ เพราะภาพที่มีรายละเอียดในภาพแบบนี้ โปรแกรมจะประมวลผลได้ยากครับ

3D Model  3D Model

 

 

 

 

Plan

รู้คำแนะนำพื้นฐานไปแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องมาวางแผนทำภารกิจการบิน หรือ Create Mission กันครับ โดยการบินโดรนเพื่อเก็บภาพไปทำ 3D Model นั้น หลักๆ จะต้องวางแผนเรื่องระดับที่จะบิน ว่าจะอยู่ที่ความสูงเท่าใดบ้าง มีรัศมีการบินเป็นวงกว้างแค่ไหน มีระดับมุมกล้องอย่างไร ซึ่งในที่นี่เราจะใช้แอปพลิเคชัน FPV Camera เป็นตัวกำหนด ( ดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://bit.ly/2BHOTma) โดยในการวางแผนบินทำภารกิจ เรามีคำแนะนำให้ดังนี้ครับ

 

         Setup Tab

         ตรงนี้ให้เลือกจุดที่ต้องการให้เป็น HomePoint ก่อน เพื่อที่จะได้ตั้งค่าส่วนอื่นๆ ต่อได้อย่างเหมาะสม ดังนี้

3D Model

 

Finish ตรงนี้ให้ตั้งค่าว่าเมื่อบินจนจบภารกิจที่เราต้องการแล้วจะให้โดรนทำอะไรต่อ โดยเลือกได้เป็น

         - RTH (ค่าพื้นฐาน): กรณีนี้โดรนจะบินกลับมาลงจอดที่จุดขึ้นบินโดยอัตโนมัติ

         - Hover: กรณีนี้โดรนจะบินลอยตัวอยู่นิ่งๆ หลังเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว เพื่อรอคำสั่งต่อไป

 

Entry มีไว้ตั้งค่าจุดเริ่มต้นของภารกิจการบินเพื่อทำโปรเจกต์ 3DModel โดยสามารถเลือกได้ทั้งจาก

-North (ทิศเหนือ)

-South (ทิศใต้)

-West (ทิศตะวันตก)

-East (ทิศตะวันออก)

-Nearest (จากจุดที่ใกล้ที่สุด อันนี้จะเป็นค่าเริ่มต้นหากเราไม่ได้ตั้งค่าใหม่ครับ)

 

Level ตรงนี้เป็นการตั้งค่าระดับความสูงในการบิน โดยคุณสามารถกำหนดเป็น 1 หรือ 2 (ค่าพื้นฐาน) หรือ 3 ระดับก็ได้ เมื่อต้องการบินเพื่อทำ 3DModel ครับ ซึ่งในแต่ละระดับ ก็จะหมายถึงระดับความสูงของการบินเป็นวงโคจรรอบๆ เป้าหมายที่เราต้องการนั่นเอง ซึ่งหัวใจของส่วนนี้คือต้องมีอย่างน้อย 1 ระดับ ที่บินสูงกว่ายอดของเป้าหมายที่เราต้องการนะครับ เพื่อที่จะได้เก็บภาพรายละเอียดได้ครบทั้งหมด ทั้งนี้ สำหรับใครที่อยากหาไกด์ตั้งค่าระดับความสูงแบบง่ายๆ เราก็มีเซ็ตตัวอย่างมาแนะนำกันด้วยครับ

 

เซ็ตที่ 1 แบบมี 1 Level

การกำหนดความสูงในการบินแบบระดับเดียว จะเหมาะกับวัตถุเป้าหมายที่สูงน้อยกว่า 5 เมตร เช่น บ้านชั้นเดียว ซึ่งในกรณีนี้แนะนำให้ยิงมุมกล้องของโดรนลงมาประมาณ 25°-40° และควรเก็บภาพมาให้ได้ประมาณ 60-100 ภาพครับ

3D Model

 

เซ็ตที่ 2 แบบมี 2Level

การกำหนดความสูงในการบินให้มี 2 ระดับ จะเหมาะกับวัตถุเป้าหมายที่สูงประมาณ 5 - 50 เมตร เช่นตึกที่มีหลายๆ ชั้น ที่ถ้าต้องการถ่ายภาพให้ครอบคลุม ก็ควรจะยิงมุมกล้องสักสองแบบ ซึ่งในกรณีนี้แนะนำให้ยิงมุมกล้องของโดรนที่ประมาณ 20°-30°เพื่อเก็บรายละเอียดด้านข้างรอบๆ กับ 45°-60°เพื่อเก็บรายละเอียดทั้งหมดในมุมสูง โดยแต่ละระดับ ก็ควรเก็บภาพให้ได้สัก 60-80 ภาพนะครับ

3D Model

 

เซ็ตที่ 3 แบบมี 3 Level

การกำหนดความสูงในการบินให้มี 3 ระดับ จะเหมาะกับวัตถุเป้าหมายที่มีลักษณะแคบและสูงโด่งมากกว่า 50 เมตร เช่น ตึกระฟ้า หรืออนุสาวรีย์ต่างๆ กรณีนี้ต้องแบ่งระดับความสูงและเลือกมุมกล้องให้ดี ให้ครอบคลุมรายละเอียดในทุกๆ ระดับความสูงนะครับ แต่ถ้า 3 ระดับคิดว่ายังไม่พอ ก็สามารถสร้างโปรเจกต์แยกออกมาใหม่ แล้วค่อยเอาภาพไปประมวลผลรวมกันทีหลังได้ ทั้งนี้ในการบินแต่ละระดับ ควรเก็บภาพให้ได้สัก 60-80 ภาพนะครับ

3D Model

 

 

Model Tab

         ตรงนี้ให้เลือกเป้าหมายในแผนที่ที่คุณต้องการให้เป็นจุดกึ่งกลางของ 3D Model ซึ่งเมื่อเลือกแล้วจะเห็นว่ามีเส้นวงกลมล้อมรอบอยู่ 1 – 3 เส้น แสดงเส้นทางการบินในแต่ละระดับที่เราตั้งค่าไว้ใน Setup Tab นั่นเองครับ เช่นตามภาพด้านล่าง โดย Level 1 จะเป็นเส้นวงกลมสีแดง Level 2 เป็นสีเหลือง ส่วน Level 3 จะเป็นสีเขียว

         ด้านสามเหลี่ยมสีฟ้าโปร่งในภาพด้านล่างนั้น จะแสดงอาณาเขตมุมรับภาพที่กล้องโดรนจะบินเก็บรายละเอียดได้ ซึ่งจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าใน Setup Tab และ Model Tab ของเรานั่นแหละ ดังนั้น ถ้าเราดูแล้วว่าระยะมันยังไม่โอเค เก็บได้ไม่น่าจะครบ ก็ลองปรับรัศมีวงโคจรในการบินใหม่ให้ดีครับ ซึ่งไปปรับได้ใน Level Panel ที่เรากำลังจะพูดถึงกัน

3D Model

 

Level Panel

       ใน Model Tab จะมีหน้าต่างย่อยคือ Level Panel ให้ตั้งค่าการบินแยกได้เป็นรายระดับเลยโดยเราสามารถเลือกทีละระดับได้ด้วยการกดลูกศรซ้ายขวาตรงด้านบนและแต่ละระดับ ก็จะมีส่วนที่ตั้งค่าได้ดังนี้ครับ

 

    Speed: คือความเร็วในการบินทำภารกิจให้ครบ 1 รอบ หรือ 1 Level โดยจะมีหน่วยเป็น นาที/รอบ หรือ วินาที/รอบ ซึ่งคำแนะนำในเรื่องนี้ก็คือ ยิ่งบินช้าจะยิ่งได้ภาพชัด แต่ก็สามารถเลือกได้หลายแบบตามที่คุณต้องการ ดังนี้ครับ

 + Slow: 6 Min/Rev (360 Sec/Rev)

 + Medium: 4 Min/Rev (240 Sec/Rev)

 + Fast: 3 Min/Rev (180 Sec/Rev)

 + Fast: 2 Min/Rev (120 Sec/Rev)

 

 Photo: ตรงนี้เราสามารถเลือกได้ครับว่าในการบินแต่ละระดับ จะให้โดรนเก็บภาพมาทั้งหมดกี่ภาพ ซึ่งแนะนำให้เก็บภาพอย่างน้อย 60-80 ภาพในทุกระดับความสูงโดยในตัวโปรแกรมที่ควบคุมส่วนนี้ ก็ให้คุณเลือกได้ตั้งแต่ 180 ภาพ แบบแต่ละภาพมีระยะห่างกัน 2° ไปจนถึง 24 ภาพ แบบแต่ละภาพมีระยะห่างกัน 15°เลย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วในการบินทำภารกิจที่เราเลือกไว้ด้วย ว่ารองรับให้เลือกจำนวนภาพและระยะห่างอย่างที่ต้องการได้หรือเปล่า โดยจะเป็นไปตามรูปแบบดังนี้ครับ

 + Slow: 180-2°, 120-3°, 72-5°, 51-7°, 36-10°

 + Medium: 120-3°, 80-4.5°, 48-7.5°, 34-11°, 24-15°

 + Fast: 90-4°, 60-6°, 36-10°, 25-14°

 + Fast: 60-6°, 40-9°, 24-15°

 

ทั้งนี้ปกติแล้วเมื่อบินทำภารกิจจริง ภาพที่ได้จะมีจำนวนน้อยกว่าที่เราต้้งค่าไว้ประมาณ 2%-5% เช่น ถ้าเลือกเป็น 120-3°จริงๆ จะได้ภาพมาแค่ 114-118 ภาพ และภาพที่โดรนถ่ายมาเพื่อทำ 3D Model จะเป็นไฟล์นามสกุล JPG เท่านั้นนะครับ

 

Radius: คือระยะห่างระหว่างตัวลำโดรนและวัตถุเป้าหมายที่เราต้องการ โดยควรเลือกให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มุมกล้องของโดรนสามารถเก็บภาพโดยมีวัตถุเป้าหมายอยู่ในแต่ละภาพได้ไม่น้อยกว่า 80% ให้ถ่ายได้ใกล้ที่สุด ชัดที่สุด ครอบคลุมมากสุด โดยเมื่อตั้งค่าตรงนี้แล้ว ก็สามารถดูการประมาณมุมรับภาพได้บนแผนที่ โดยจะแสดงเป็นภาพสามเหลี่ยมสีฟ้าโปร่ง เช่นตามภาพด้านบนครับ

 

Target Height: ตรงนี้จริงๆ แล้วอาจตั้งค่าให้เป็นครึ่งหนึ่งของความสูงจริงของวัตถุเป้าหมาย หรือให้สูงกว่าก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับองศาของมุมกล้องของโดรนที่เราใช้บินด้วย เอาเป็นว่าตั้งแล้วก็ดูให้ดี ให้สามารถเก็บภาพวัตถุเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมแล้วกันครับ

 

Aircraft Height: คือความสูงที่คุณต้องการให้โดรนบินเป็นวงโคจรรอบๆ วัตถุเป้าหมายนั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะสัมพันธ์กับ Target Height โดยถ้าเราบินสูงแล้ว ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงไม่จำเป็นต้องตั่งค่าความสูงของวัตถุเป้าหมายให้เท่าความสูงจริงๆ นั่นเอง เพราะโดรนของเราไม่ได้บินอยู่ที่พื้นเท่ากับระดับฐานของวัตถุเป้าหมายครับ

 

Angel: คือองศาการ Tilt ของมุมกล้องโดรน ที่ต้องเลือกให้สัมพันธ์กับ Target Height และ Aircraft Height คือรวมกันแล้วสามารถเก็บภาพได้อย่างครอบคลุม ครบทุกรายละเอียดที่เราต้องการนั่นเอง

 

3D Model

 

 

 

Review Tab

ส่วนนี้จะสรุปข้อมูลสำคัญต่างๆ ในการบินทำภารกิจเพื่อสร้าง 3D Model ของเรา ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

Dis: ระยะที่ไกลที่สุดจาก Home Point

Travel: ประมาณระยะทางที่ต้องบินทั้งหมด

Time: ประมาณระยะเวลาทั้งหมดที่ต้องใช้ในการบิน

Battery: ประมาณค่าแบตเตอรีที่ต้องใช้สำหรับทั้งภารกิจการบิน

Photo: จำนวนภาพสูงสุดที่จะถูกบันทึก

Level: จำนวนระดับความสูงที่จะบิน

 

3D Model

 

 

 

 

วางแผนเสร็จแล้วพร้อมกด Fly Tab ด่านสุดท้ายเพื่อขึ้นบินกันหรือยังครับ? แต่เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะเราเลยให้เวลานักบินทุกคนได้คิดและทบทวนการตั้งค่าให้ดีกันก่อนดีกว่า แล้วเร็วๆ นี้จะรีบมาบอกกันต่อถึงวิธีขึ้นบินทำภารกิจและการนำเอาไฟล์ภาพทั้งหมดไปทำ 3D Model อย่าลืมติดตาม ได้ที่แฟนเพจ DJI Phantom Thailand ที่นี่ที่เดียวนะครับ!

 

 

----------------------------------------

ภาพและข้อมูลจาก www.aerial3d360.com และ www.fpvbooster.com

 

 

 

 

 

 

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

picture_free
icon-0per icon-warranty1y icon-sendfree
product image product image hover

DJI Mini SE

฿10,900

สินค้าหมด

picture_free
icon-0per icon-warranty1y icon-sendfree
product image product image hover

DJI Mini 2 Fly More Combo

฿20,990

สินค้าหมด

picture_free
icon-0per icon-warranty1y icon-sendfree
product image product image hover

DJI Mini SE Fly More Combo

฿14,840

สินค้าหมด

picture_free
icon-0per icon-warranty1y icon-sendfree
product image product image hover

DJI Air 2S Fly More Combo

฿46,200

สินค้าหมด

backtotop DJI Phantom Thailand